moomai

welcome To moomai

ความหมายของบล็อก บล็อก (blog) คือลูกผสมระหว่าง web กับ log จึงกลายเป็น blog ซึ่งก็คือเว็บ (web) ที่ใช้ข้อมูล (log) นั่นเอง หากจะอธิบายให้ชัดเจนก็คือ คำแรก “เว็บ” (web) มาจากอินเตอร์เน็ตเวิร์ลไวด์เว็บ (WWW) และคำที่สอง “ล็อก” (log) สื่อความหมายว่าการเก็บบันทึก ดังนั้นแล้ว เมื่อนำสองคำมารวมกัน จึงเกิดเป็นคำใหม่ได้ว่า “weblog” ความหมายโดยนัยยะ แปลออกมาได้อย่างชัดเจนว่า “การบันทึกไว้บนอินเตอร์เน็ตเวลิ์ดไวด์เว็บ” นั่นเอง


















บล็อก (blog) มักควบคู่มากับระบบแสดงความคิดเห็น (comment) ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ขาดไปเสียไม่ได้ โดยคุณสมบัตินี้ มีไว้เพื่อติดต่อสื่อสาร แสดงความคิดเห็นระหว่างผู้อ่านและผุ้เขียน ทำให้ได้อรรถรสในการอ่าน พร้อมๆกับกำลังใจของผู้เขียนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย กล่าวคือผู้เขียนเองก็ต้องการได้รับการตอบรับ ในเเง่ของความเห็น ผู้อ่านก็ต้องการได้รับมาซึ่งคำตอบจากผู่เขียนเช่นกัน ซึ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น ทำให้ความสนิทสนม ความเป็นกันเอง ทยอยเกิดขึ้นมา จนเป็น Social Netwo






บล็อกแตกต่างจากเว็บไซต์อย่างไร บล็อกคือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องของความเป็นส่วนตัว ความเป็นกันเองระหว่างเจ้าของบล็อกกับผู้ใช้ และเนื้อหาภายใน บล็อกจะเน้นการสื่อสารด้วยภาษาที่เรียบง่ายเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไป ส่วนเว็บไซด์นั้น ความไกล้ชิดกันระหว่างผู้ดูแลเว็บไซด์กับผู้ใช้ ค่อนข้างห่างเหินกันไปสักนิด ภาษาที่ใช้ในเว็บก็ออกจะเป็นด้านวิชาการ มีความน่าเชื่อถือขึ้นขึ้นมาอีกหน่อย กอปรกับการจัดการที่ยากขึ้น เพราะเว็บไซต์เป็นอะไรที่ใหญ่ วุ่นวายต้องบริหารจัดการหลายๆ



ระบบ ให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่ หรือจัดเก็บ

ประเภทของบล๊อก บล็อกสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. ชนิดของสื่อ

2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ

3. เจาะจงเนื้อหาเฉพาะด้าน

4. บล็อกขององค์กรทางธุรกิจ

5. บล็อกเสิร์ซเอนจิ้น (Blog search engine)

6. ชุมชนสัมพันธ์ (Blog Communities)

บล็อกกับกระแสความนิยม ปัจจุบันบล็อกได้รับกระแสความนิยมมาก เนื่องจากความง่ายในการบริหารจัดการ คนที่ไม่มีความรู้ด้านการสร้างเว็บไซต์ ก็สามารถใช้งานได้ หรือถ้ามีทักษะเพิ่มขึ้นมาหน่อย ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น สื่อมวลชนหลายประเภทเป็นของตัวเอง เพื่อนำเสนอข่าวสาร ให้ทันสมัย เที่ยงตรง กระชับและฉับไว

เด็กวัยรุ่นหันมาเล่นบล็อก เขียนบันทึกเล็กๆ อวดภาพถ่าย โชว์วีดีโอคลิป หรือแม้กระทั่งส่งการบ้านผ่านบล็อกเลยก็มี ส่วนคนวัยทำงาน ก็นำความรู้ของตนที่มีมาเผยแพร่ นำเสนอแนวคิดปรัชญาต่างๆ เกิดการแชร์ความรู้กันอย่างมากมาย ซึ่งเห็นได้ชัดว่าบล็อกได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ดังจะเห็นได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ พยายามดึงบล็อกเข้ามาเป็นหนึ่ง ในรายการที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้

แหล่งอ้างอิง

1. เดชา ไชยเมือง.”WordPress กระแทกใจบล็อกเกอร์ วัยจ๊าบ” กรุงเทพฯ : ตลาด ดอท คอม.2550.

2. http://en.wikipedia.org/wiki/Blog


คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมค่ะ >>


ร่วมกับสมุดหน้าเหลือง ให้สอบถามข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยวและร้านอาหาร เพียงกด 1188 พร้อมมอบส่วนลดร้านอาหารกว่า 40 ร้าน เติมความสุขรับปีใหม่…







ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด จัดแคมเปญ "ค้นพบสิ่งดีๆ กับ Nokia N97 mini" มอบความสุขแก่ลูกค้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยร่วมกับ สมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ให้ลูกค้าโนเกียสามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และอื่นๆ ได้ที่เบอร์ 1188 โดย Yellow Pages จะส่ง POI (Point Of Interests) ฟรี ให้ลูกค้าโนเกียผ่าน SMS เพื่อใช้บริการ Ovi Maps เพื่อนำเส้นทาง






ทั้งนี้ ลูกค้าโนเกียจะได้รับสิทธิพิเศษส่วนลด 5-10% สำหรับเมนูอาหาร ณ ร้านที่ร่วมรายการกว่า 40 ร้าน อาทิ ร้าน Moody , เสือนอนกิน , The Water Front และ Ezili ฯลฯ เพียงแสดงหน้าจอ Ovi Maps บน Nokia N97 mini ณ ร้านที่ร่วมรายการ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โนเกีย แคร์ไลน์ 0-2255-2111 หรือ www.nokia.co.th/maps

คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมค่ะ >>


ส่วนหนึ่งจากวิดีโอแนะนำบริการใส่คำบรรยายใต้ภาพวิดีโออัตโนมัติบนยูทูบ กรอบสีแดงซ้ายมือคือข้อความบรรยายที่ได้จากโปรแกรมแปลงเสียงเป็นข้อความ กรอบขวามือคือภาพวิดีโอต้นฉบับ กรอบเล็กกลางจอภาพคือภาษาที่ผู้ใช้ยูทูบสามารถเลือกได้ถึง 51 ภาษา ซึ่งมีภาษาไทยรวมอยู่ด้วย

    วิดีโอพร้อมคำบรรยายภาพอาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับยูทูบ แต่การที่กูเกิลให้บริการ"โปรแกรมใส่คำบรรยายภาพวิดีโอแบบอัตโนมัติ"นั้นเป็นเรื่องใหม่แน่นอน ความเคลื่อนไหวนี้จะทำให้ผู้พิการทางหูสามารถเข้าใจวิดีโอบนยูทูบได้มากขึ้น ปรับโอกาสในการรับข้อมูลข่าวสารให้เทียบเท่ากับชาวเน็ตทุกคนที่ต้องการค้นหาและชมวิดีโอออนไลน์

    ยูทูบนั้นให้บริการใส่คำบรรยายใต้วิดีโอแบบที่สมาชิกยูทูบต้องลงมือพิมพ์ด้วยตัวเองครั้งแรกเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยขณะนี้ วิดีโอที่มีคำบรรยายนั้นมีจำนวนหลายพันชิ้นแล้วบนยูทูบ

    สำหรับบริการใส่คำบรรยายใต้วิดีโอแบบอัตโนมัติใหม่ล่าสุดที่กูเกิลจะให้บริการในยูทูบนั้น เป็นการนำอัลกอริธึมหรือลำดับความคิดในการจำแนกวิเคราะห์เสียงซึ่งกูเกิลใช้ในบริการกูเกิลวอยซ์ (Google Voice) มาสร้างคำบรรยายใต้วิดีโอแบบอัตโนมัติ ทั้งหมดนี้เรียกรวมว่าเทคโนโลยี auto-cap

    จุดนี้ เคน แฮร์เรนสไตน์ (Ken Harrenstien) วิศวกรซอฟต์แวร์ผู้สร้างเทคโนโลยีคำบรรยายอัตโนมัตินี้ยอมรับว่า คำบรรยายที่ได้อาจจะไม่สมบูรณ์แบบในขณะนี้ แต่ยืนยันว่าจะเดินหน้าพัฒนาความถูกต้องแม่นยำอย่างต่อเนื่องในอนาคต

    แฮร์เรนสไตน์นั้นเป็นวิศวกรผู้พิการทางหูที่มุ่งมั่นทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนร่วมชะตากรรมได้อย่างน่าชื่นชม โดยแฮร์เรนสไตน์เขียนในบล็อกของกูเกิลว่า วิดีโอออนไลน์ที่ชาวอินเทอร์เน็ตสร้างขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ผู้พิการทางหูส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยในช่วงแรก คำบรรยายอัตโนมัตินั้นจะสามารถวิเคราะห์ภาษาอังกฤษได้เพียงภาษาเดียว โดยนอกจากยูทูบ ผู้พิการทางหูสามารถชมวิดีโอออนไลน์พร้อมคำบรรยายอัตโนมัติได้ผ่านช่องทางพันธมิตรยูทูบอีก 13 ช่องทาง

    คำบรรยายที่ได้นั้นจะแสดงได้หลากหลายถึง 51 ภาษา รวมถึงภาษาไทย ซึ่งจากการทดสอบขณะนี้ พบว่ามีเพียงวิดีโอออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาเท่านั้นที่มีคำแปล และเป็นคำแปลภาษาไทยที่มีลักษณะเดียวกับโปรแกรมแปลภาษา Google Translate ซึ่งผู้อ่านต้องนำมาเรียบเรียงเองอีกครั้งหนึ่ง

    นอกจากประโยชน์ต่อผู้พิการทางหู แฮร์เรนสไตน์ระบุว่าคำบรรยายภาพวิดีโอยังมีประโยชน์ในแง่ของการสืบค้นวิดีโอด้วย เนื่องจากผู้ใช้สามารถเลือกชมวิดีโอเฉพาะช่วงที่มีเนื้อความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดที่ต้องการได้

    อย่างไรก็ตาม เพื่อการไม่หวังพึ่งพาระบบบรรยายวิดีโออัตโนมัติมากเกินไป แฮร์เรนสไตน์ยังโชว์เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้อัปโหลดวิดีโอใจบุญที่ต้องการใส่คำบรรยายภาพวิดีโอด้วยมือ นั่นคือเทคโนโลยี automatic caption timing หรือเรียกสั้นๆว่า auto-timing

    "ด้วย auto-timing คุณไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการใส่คำบรรยายบนยูทูบ ที่คุณต้องทำคือการสร้างไฟล์ข้อความธรรมดาซึ่งประกอบด้วยข้อความที่ปรากฏในวิดีโอทั้งหมด จากนั้นเราจะใช้เทคโนโลยี ASR ของกูเกิลเป็นตัวจัดวางตามช่วงเวลาที่ข้อความนั้นถูกเอ่ยออกมา คำบรรยายวิดีโอก็จะสามารถถูกสร้างได้ง่ายดาย" แฮร์เรนสไตน์อธิบาย

    ความเคลื่อนไหวล่าสุดของกูเกิลในขณะนี้ คือการเข้าซื้อบริษัทเกิดใหม่ด้านโฆษณานาม Teracent กูเกิลไม่ระบุรายละเอียดว่าซื้อมาในราคาเท่าใดแต่ยอมรับว่าการซื้อครั้งนี้จะทำให้กูเกิลสามารถเปิดตัวบริการใหม่ด้านโฆษณาออนไลน์ได้ เป็นความเคลื่อนไหวหลังการประกาศซื้อบริษัท AdMob บริษัทเครือข่ายโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือด้วยเงินมูลค่า 750 ล้านเหรียญ






Company Related Links :


Youtube


ที่มา  http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000142502
คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมค่ะ >>